วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

การเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด ตามติดพัฒนาการตั้งแต่ก่อนและหลังการเพาะเมล็ด

บทความ
การเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด ตามติดพัฒนาการตั้งแต่ก่อนและหลังการเพาะเมล็ด

  การเพาะเมล็ดแคคตัสเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก กว่าที่แคคตัสต้นหนึ่งจะงอกและเจริญเติบโตจนมีดอกสวยๆ ให้ได้ชมกันนั้นอาจต้องใช้เวลาหลายปีในการเลี้ยงดูประคบประงม ซึ่งนักปลูกบางท่านก็คงจะคิดว่ามันนานเกินไปรอไม่ไหวก็เลยไม่สนใจในเรื่องราวของการเพาะเมล็ด  แต่ข้อดีในเรื่องของการเพาะเมล็ดนั้นก็มีอยู่หลายข้อ เช่นไม้เพาะเมล็ดนั้นจะมีระบบรากที่แข็งแรงมีรากแก้ว และในการเพาะเมล็ดยังมีโอกาสที่จะได้ลูกไม้ที่มีหน้าตาที่สวยงามเหมือนกับต้นพ่อแม่หรือสวยงามโดดเด่นมากกว่าต้นพ่อแม่ก็เป็นไปได้ หรืออาจที่จะได้ไม้ด่างหรือไม้ที่มีลักษณะเด่นที่แปลกแตกต่างออกไป

เมื่อหยอดเมล็ดลงไปเรียบร้อยแล้วจากนั้นก็เอากระถางเพาะของเราเอาไปแช่ในน้ำที่มียากันราผสมเอาไว้อยู่ บางท่านอาจจะมีการผสมยาเร่งราก B1 หรือวิตามินอะไรก็แล้วแต่ แต่สำหรับผมนั้นไม่ใช้ครับ ผมใช้แค่น้ำผสมกับยากันราจางๆ แค่นั้นพอแล้วครับ


   หลังจากที่แช่กระถางเพาะไปได้สักพักให้วัสดุเพาะดูดน้ำเข้าไปจนเต็มที่จนเห็นแล้วว่าพีทมอสนั้นผมน้ำไว้จนชุ่มแล้ว ผมก็จะยกออกมาแล้วพ่นยากันราซ้ำบริเวณผิวหน้าที่เราโรยเมล็ดเอาไว้ ก็คือพ่นยากันราใส่เมล็ดเพื่อป้องกันเมล็ดขึ้นราหรือเน่าครับ จากนั้นก็จะทำการเอาใส่ถุงพลาสติก


      การที่เราเอากระถางเพาะใส่ในถุงพลาสติกแล้วมัดปากแบบนี้นั้นก็เพื่อเป็นการรักษาความชื้นให้วัสดุเพาะนั้นแห้งช้านั่นเองครับ ซึ่งการเพาะแบบนี้นั้นเราเรียกว่าการเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด
     ส่วนแท็กที่เราเขียนเอาไว้ตอนผสมว่าพ่อแม่เป็นใครก็เอามาติดไว้ตามสะดวก บางท่านก็ปักในกระถางเพาะนั่นล่ะครับ แต่ของผมตอนเขียนดันเขียนใส่ป้ายอันใหญ่ ตอนจะปักก็เลยรู้สึกว่าเกะกะไปหน่อยเลยเอามาผูกไว้กับปากถุงมันซะแบบนี้เลยแล้วกัน

   
หลังจากที่เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว ใส่ถุงแบบนี้แล้วจากนั้นเราก็เอาเจ้าถุงใส่กระถางเพาะของเราเนี่ยเอาไปเก็บไว้ในจุดที่มีแสงส่องรำไร แต่อย่าให้โดนแดดจัดๆ เป็นอันขาดนะครับ ต้นอ่อนจะสุกตายเอาได้ง่ายๆ  อย่างสถานที่วางถุงเพาะเมล็ดของผมนั้น ก็จะเป็นใต้โต๊ะที่ใช้วางกระถางแคคตัสนั่นล่ะครับ สว่างมีแสงแดดอ่อนๆส่องถึงบ้างในช่วงเช้าถึงสาย แค่นั้น ซึ่งผมคิดว่าน่าจะพอเพียงแล้วล่ะเมื่อมาถึงขั้นตอนนี้แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรแล้วล่ะครับ เราก็ปล่อยเค้าไว้แบบนั้นแล้วรอดูการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่นานเมล็ดจะเริ่มงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนอย่างที่เห็น


แกะถุงออกมานั้นก็เพื่อที่จะทำการโรยหินประคองต้นนั้นเองครับ ซึ่งใช้เป็นหินก้อนเล็กๆ โรยบางๆ ต้นไหนล้มก็ทำการจัดลำต้นซะหน่อยแล้วเอาหินโรยค้ำเอาไว้ โรยหินจนทั่วแบบนี้ก็ดูสวยดีไปอีกแบบนะครับ เป็นระเบียบ

     ในการดูแลแคคตัสต้นน้อยๆ เหล่านี้นั้นผมให้พวกเค้าได้รับแสงแดดที่ไม่แรงจนเกินไปนัก แต่ถ้าสถานที่ปลูกมีข้อจำกัดในเรื่องแสงแดดแล้วล่ะก็ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องให้เค้าเจอกับแดดแรงๆ ช่วงเที่ยงวันแนะนำว่าควรที่จะมีการใช้แลนช่วงพลางแสงให้เบาลงด้วยนะครับ เพราะแคคตัสเล็กๆ เหล่านี้นั้นยังไม่แข็งแรงมาก ไม่สามารถที่จะทนกับแสงแดดจัดๆ ได้สักเท่าไร


      ส่วนการรดน้ำนั้น ผมไม่ได้มีหลักอะไรมากมาย แค่สังเกตุที่วัสดุปลูก ถ้าเห็นว่าเริ่มจะแห้งเมื่อไรก็ถึงจะรดน้ำ บางทีอากาศแห้งๆ ลมแรงๆ วัสดุปลูกก็แห้งเร็ว แต่ถ้าช่วงไหนแดดน้อย ฝนตก อากาศชื้น วัสดุปลูกแห้งช้าก็ไม่ค่อยได้รดน้ำ สังเกตุที่วัสดุปลูกเป็นหลักเอาไว้ก่อน ถ้าชื้นก็ผ่านไปแห้งตอนไหนก็ค่อยรดนํ้า












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น