วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการปลูกแคคสตัส

บทความ


ขั้นตอนการปลูกแคคสตัส

1. ใส่วัสดุรองกันกระถาง เพื่อให้น้ำสามารถไหลผ่านได้ดีโดยใส่ประมาณ 1/3 ของกระถาง แต่ก็ขึ้นอยู่กับความลึกของกระถาง และความยาวของราก
2. ตักดินปลูกแคคตัสลงไปปลูก กะความลึกให้พอดีกับต้นและราก
3. นำแคคตัสลงไปปลูก จัดแคคตัสให้อยู่กึ่งกลางของกระถาง และค่อย ๆ ตักดินใส่รอบ ๆ ต้น โดยใส่ดินให้ต่ำกว่าขอบกระถางประมาณ 1 เซนติเมตร
4. ใส่ปุ๋ย เราจะใส่ปุ๋ยออสโมโค้ท (Osmocote) หรือปุ๋ยละลายช้าปริมาณเล็กน้อย แต่ถ้าไม่มีปุ๋ยก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ค่ะ เพราะในดินปลูกแคคตัสก็มีสารอาหารและแร่ธาตุอยู่แล้ว
5. โรยหินให้ทั่ว ใช้ช้อนตักและโรยหินให้ทั่ว โดยไม่ต้องโรยหนาเกินไป แค่ไม่เห็นดินก็พอแล้ว

   ไม่ควรเปลี่ยนกระถางในช่วงฤดูฝน เพราะจะเสี่ยงต่อการเน่ามากที่สุด นอกจากนี้เมื่อเปลี่ยนกระถางใหม่ไม่ควรรดน้ำทันที ควรทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน จึงจะรดน้ำตามปกติ แต่ถ้าเราผึ่งรากให้แห้งสนิทแล้วก็สามารถรดน้ำได้เลย หลังจากปลูกเสร็จค่ะ และหลังจากเปลี่ยนกระถางใหม่หมาด ๆ ควรนำแคคตัสไปไว้ในที่ที่มีแดดรำไรก่อน และค่อย ๆ ฝึกออกแดดช่วงเช้าและเย็นเป็นเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนจะนำไปเลี้ยงรวมกับแคคตัสต้นอื่น ๆ




ส่วนผสม
ส่วนผสมที่ 1

   1. ดินใบก้ามปูร่อน 3 ส่วน
   2. ถ่านเกล็ด 1 ส่วน (แบบที่เป็นเกล็ดพอดี ไม่ใหญ่จนเกินไปนะคะ)
   3. ขุยมะพร้าว 1 ส่วน ควรนำไปแช่น้ำจนหมดยางก่อนใช้
   4. ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ส่วน

ส่วนผสมที่ 2

   1. กรวดน้ำจืด ½ ส่วน
   2. ทรายหยาบ ½ ส่วน ก่อนใช้ควรล้างเอาความเค็มและฝุ่นผงออกไปก่อนค่ะ
   3. หินภูเขาไฟ เบอร์ 00 1 ส่วน (เป็นส่วนผสมที่ช่วยให้ดินปลูกของเรามีความโปร่ง)
   4. หินฟอสเฟต (Rock Phosphate) ½ ส่วน
   5. รีโบน หรือกระดูกป่น ½ ส่วน
   6. โดโลไมต์ (Dolomite) ½ ส่วน (เป็นสารปรับสภาพดิน เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นกลาง)

                                





ขั้นตอนการเปลี่ยนกระถาง

ขั้นตอนการเปลี่ยนกระถาง
1.นำแคคตัสออกจากกระถาง และรื้อดินเก่าออก
2. ล้างดินออกจากราก และทำการตัดแต่งรากฝอย เพื่อให้แคคตัสได้ผลิตรากใหม่และดูดซึมอาหารได้ดีกว่าเดิม จากนั้นพักไว้ในร่มประมาณ 7 วัน ให้แผลแห้งสนิท จึงนำลงปลูก
3. หลังจากแผลของรากที่เราตัดแต่งแห้งดีแล้ว ต่อไปเป็นขั้นตอนการลงปลูก ควรเลือกขนาดกระถางให้เหมาะสมกับต้นที่เราจะทำการเปลี่ยน โดยให้เว้นให้ห่างจากขอบกระถางประมาณ 1.5 เซนติเมตร หากเลือกกระถางที่ใหญ่เกินไปจะทำให้ดินมีความชื้นสูง เป็นสาเหตุให้แคคตัสของเราเน่าได้
4. เตรียมดินสำหรับเปลี่ยนให้แคคตัสของเรา ส่วนสูตรดินจะเป็นแบบไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบ้านเลย แต่เน้นที่โปร่งๆเข้าไว้จะดีที่สุด สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงหากผสมดินเองไม่เป็น สามารถหาซื้อดินสำเร็จรูปสำหรับปลูกแคคตัสมาใช้ได้เลย
5. รองก้นกระถางด้วยหินภูเขาไฟ กะปริมาณให้พอเหมาะกับกระถาง หินภูเขาไฟจะช่วยให้ดินในกระถางโปร่งและระบายน้ำได้ดี
6. ใส่ดินปลูกลงไปประมาณครึ่งนึงของกระถางก่อน ตามด้วยปุ๋ยละลายช้า ออสโมโค้ทและสตาร์เกิ้ลจีเพื่อป้องกันแมลง
7. นำแคคตัสวางลงไประหว่างกึ่งกลางของกระถาง
8. ใช้ช้อนค่อยๆตักดินเติมลงไปให้เต็มกระถาง
9. ใช้หินโรยหน้าดินเพื่อเพิ่มความสวยงาม และยังมีประโยชน์เวลารดน้ำ หินจะทำให้ดินไม่กระเด็นเลอะเทอะอีกด้วย

10. หลังจากเปลี่ยนกระถาง อย่าเพิ่งรดน้ำทันที ควรเว้นระยะสัก 5–7 วัน และวางในที่แดดรำไร ก่อนนำไปเลี้ยงรวมกับต้นอื่นๆ

























ตัดแต่งรากแคคตัส


บทความ

 ตัดแต่งรากแคคตัด

เริ่มจากเคาะกระถางออกมาก่อนเลยแล้วกัน เจ้าต้นนี้จะเคาะให้เค้าหลุดออกมาจากกระถางยากสักหน่อยเพราะต้นเค้าโตมากจนแน่นกระถางเสียแล้วเพราะฉะนั้นเวลาทำต้องใช้ความระวังพอสมควรเลยทีเดียว




 ขั้นแรกค่อยๆ บีบกระถาง อย่าบีบแรงจนเกินไปไม่เช่นนั้นไม้อาจะช้ำ ที่เราบีบเพื่อให้ดินนั้นร่อนจะได้ดึงออกมาง่ายๆ จากนั้นก็ใช้นิ่วดันที่รูกระถางจนต้นเค้าหลุดออกมาจะได้เป็นแบบนี้


 จะเห็นว่าดินปลูกที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนเป็นระยะเวลานานๆ นั้น จะจับตัวกันเป็นก้อน ก็ค่อยๆ เอาดินออก ให้หมด โดยที่ผมจะใช้น้ำเข้าช่วยเพื่อให้ดินหลุดง่ายขึ้น ก็ค่อยๆ ล้างดินไปเรื่อยๆ จนดินออกหมดเหลือแต่ราก


 เมื่อล้างดินออกจนหมดแล้วนั้นจะเห็นว่ารากของแคคตัสต้นนี้นั้นเยอะมาก บางส่วนเป็นรากเก่ารากแก่ซึ่งศักยภาพในการหาอาหารนั้นเริ่มไม่ดีแล้ว เทียบกับรากใหม่ๆ อ่อนๆ ไม่ได้ รากใหม่ๆ โดยเฉพาะรากฝอยนั้น จะเป็นรากที่หาอาหารได้ดีกว่ารากเก่าใหญ่ๆ แบบนี้มาก เพราะฉะนั้นก็ต้องมีการตัดรากเก่าพวกนี้ออกไปให้กุด ไม่ต้องกลัวนะครับว่ารากเค้ากุดแล้วจะตาย เพราะเมื่อเราตัดแต่งรากเค้าเรียบร้อยแล้ว พอเอากลับมาลงปลูกอีกครั้ง เค้าจะออกรากใหม่ๆ สดๆ ที่หาอาหารเก่งๆ ออกมาแน่นอน


  หลังจากที่เราตัดแต่งรากเรียบร้อยแล้วนั้น ผมจะไม่เอาไปลงปลูกในทันทีเพราะถ้าตัดแต่งรากปุ๊บแล้วเราเอาเค้าไปลงปลูกทันที มีโอกาสสูงมากที่เราจะเน่า เพราะแผลที่เราตัดแต่งรากไว้นั้นมันยังไม่แห้งซึ่งเมื่อเอาไปลงปลูกเลยเค้าอาจจะติดเชื้อเข้าทางแผลที่ตัดแต่งรากจนทำให้เราเน่าและต้นเน่าตายตามไปด้วยก็เป็นได้

                                                
การเจริญเติบโตของเค้าจะพุ่งพรวดอย่างรวดเร็วทันที เพราะฉะนั้นช่วงแรกๆ ที่ลงปลูกก็ต้องใจเย็นนิดนึง ตอนที่รากเค้ายังออกน้อยยังเจริญเติบโตได้ไม่ดีก็อย่าพึ่งไปรดนํ้าเค้าบ่อยเกินไปนะ เพราะรากน้อยการดูดนํ้าก็ยังคงจะทำได้ไม่ดีเท่าไรนัก ถ้าไปรดนํ้าเค้าบ่อยๆ ดินจะชื้นแล้วแห้งม่ทันทำให้เค้ามีโอกาสเน่าตายได้เหมือนกันครับ เพราะฉะนั้นช่วงแรกๆ ในการลงปลูกหลังจากตัดแต่งราก ควรจะให้นํ้าแต่น้อยๆ สักอาทิตย์ละครั้งน่าจะกำลังพอเหมาะ หรือว่าเลือกรดนํ้าเฉพาะตอนที่เห็นว่าดินแห้งสนิทเท่านั้นก็ได้



วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

การเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด ตามติดพัฒนาการตั้งแต่ก่อนและหลังการเพาะเมล็ด

บทความ
การเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด ตามติดพัฒนาการตั้งแต่ก่อนและหลังการเพาะเมล็ด

  การเพาะเมล็ดแคคตัสเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก กว่าที่แคคตัสต้นหนึ่งจะงอกและเจริญเติบโตจนมีดอกสวยๆ ให้ได้ชมกันนั้นอาจต้องใช้เวลาหลายปีในการเลี้ยงดูประคบประงม ซึ่งนักปลูกบางท่านก็คงจะคิดว่ามันนานเกินไปรอไม่ไหวก็เลยไม่สนใจในเรื่องราวของการเพาะเมล็ด  แต่ข้อดีในเรื่องของการเพาะเมล็ดนั้นก็มีอยู่หลายข้อ เช่นไม้เพาะเมล็ดนั้นจะมีระบบรากที่แข็งแรงมีรากแก้ว และในการเพาะเมล็ดยังมีโอกาสที่จะได้ลูกไม้ที่มีหน้าตาที่สวยงามเหมือนกับต้นพ่อแม่หรือสวยงามโดดเด่นมากกว่าต้นพ่อแม่ก็เป็นไปได้ หรืออาจที่จะได้ไม้ด่างหรือไม้ที่มีลักษณะเด่นที่แปลกแตกต่างออกไป

เมื่อหยอดเมล็ดลงไปเรียบร้อยแล้วจากนั้นก็เอากระถางเพาะของเราเอาไปแช่ในน้ำที่มียากันราผสมเอาไว้อยู่ บางท่านอาจจะมีการผสมยาเร่งราก B1 หรือวิตามินอะไรก็แล้วแต่ แต่สำหรับผมนั้นไม่ใช้ครับ ผมใช้แค่น้ำผสมกับยากันราจางๆ แค่นั้นพอแล้วครับ


   หลังจากที่แช่กระถางเพาะไปได้สักพักให้วัสดุเพาะดูดน้ำเข้าไปจนเต็มที่จนเห็นแล้วว่าพีทมอสนั้นผมน้ำไว้จนชุ่มแล้ว ผมก็จะยกออกมาแล้วพ่นยากันราซ้ำบริเวณผิวหน้าที่เราโรยเมล็ดเอาไว้ ก็คือพ่นยากันราใส่เมล็ดเพื่อป้องกันเมล็ดขึ้นราหรือเน่าครับ จากนั้นก็จะทำการเอาใส่ถุงพลาสติก


      การที่เราเอากระถางเพาะใส่ในถุงพลาสติกแล้วมัดปากแบบนี้นั้นก็เพื่อเป็นการรักษาความชื้นให้วัสดุเพาะนั้นแห้งช้านั่นเองครับ ซึ่งการเพาะแบบนี้นั้นเราเรียกว่าการเพาะเมล็ดแคคตัสแบบปิด
     ส่วนแท็กที่เราเขียนเอาไว้ตอนผสมว่าพ่อแม่เป็นใครก็เอามาติดไว้ตามสะดวก บางท่านก็ปักในกระถางเพาะนั่นล่ะครับ แต่ของผมตอนเขียนดันเขียนใส่ป้ายอันใหญ่ ตอนจะปักก็เลยรู้สึกว่าเกะกะไปหน่อยเลยเอามาผูกไว้กับปากถุงมันซะแบบนี้เลยแล้วกัน

   
หลังจากที่เรียบร้อยทั้งหมดแล้ว ใส่ถุงแบบนี้แล้วจากนั้นเราก็เอาเจ้าถุงใส่กระถางเพาะของเราเนี่ยเอาไปเก็บไว้ในจุดที่มีแสงส่องรำไร แต่อย่าให้โดนแดดจัดๆ เป็นอันขาดนะครับ ต้นอ่อนจะสุกตายเอาได้ง่ายๆ  อย่างสถานที่วางถุงเพาะเมล็ดของผมนั้น ก็จะเป็นใต้โต๊ะที่ใช้วางกระถางแคคตัสนั่นล่ะครับ สว่างมีแสงแดดอ่อนๆส่องถึงบ้างในช่วงเช้าถึงสาย แค่นั้น ซึ่งผมคิดว่าน่าจะพอเพียงแล้วล่ะเมื่อมาถึงขั้นตอนนี้แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรแล้วล่ะครับ เราก็ปล่อยเค้าไว้แบบนั้นแล้วรอดูการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ไม่นานเมล็ดจะเริ่มงอกขึ้นมาเป็นต้นอ่อนอย่างที่เห็น


แกะถุงออกมานั้นก็เพื่อที่จะทำการโรยหินประคองต้นนั้นเองครับ ซึ่งใช้เป็นหินก้อนเล็กๆ โรยบางๆ ต้นไหนล้มก็ทำการจัดลำต้นซะหน่อยแล้วเอาหินโรยค้ำเอาไว้ โรยหินจนทั่วแบบนี้ก็ดูสวยดีไปอีกแบบนะครับ เป็นระเบียบ

     ในการดูแลแคคตัสต้นน้อยๆ เหล่านี้นั้นผมให้พวกเค้าได้รับแสงแดดที่ไม่แรงจนเกินไปนัก แต่ถ้าสถานที่ปลูกมีข้อจำกัดในเรื่องแสงแดดแล้วล่ะก็ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องให้เค้าเจอกับแดดแรงๆ ช่วงเที่ยงวันแนะนำว่าควรที่จะมีการใช้แลนช่วงพลางแสงให้เบาลงด้วยนะครับ เพราะแคคตัสเล็กๆ เหล่านี้นั้นยังไม่แข็งแรงมาก ไม่สามารถที่จะทนกับแสงแดดจัดๆ ได้สักเท่าไร


      ส่วนการรดน้ำนั้น ผมไม่ได้มีหลักอะไรมากมาย แค่สังเกตุที่วัสดุปลูก ถ้าเห็นว่าเริ่มจะแห้งเมื่อไรก็ถึงจะรดน้ำ บางทีอากาศแห้งๆ ลมแรงๆ วัสดุปลูกก็แห้งเร็ว แต่ถ้าช่วงไหนแดดน้อย ฝนตก อากาศชื้น วัสดุปลูกแห้งช้าก็ไม่ค่อยได้รดน้ำ สังเกตุที่วัสดุปลูกเป็นหลักเอาไว้ก่อน ถ้าชื้นก็ผ่านไปแห้งตอนไหนก็ค่อยรดนํ้า












บนความสายพันธุ์ต้นกระบองเพชร Cactus

บทความ
สายพันธุ์ต้นกระบองเพชร 


Echinocactus grusonii หรือ ถังทอง 
ลำต้นมีสีเขียว ลักษะค่อนข้างกลมส่วนบนสุดตัดเว้าคล้ายปากถัง มีหนาวสีขาวขนาดใหญ่รอบลำต้น



Eriocactus leninghausii หรือ กระบอกทอง
ลำต้นมีลักษณะเป็นทรงกระบอกสีเขียวคล้ายกระบอง แต่ปกคลุมด้วยหนามสีเหลืองทองทั่วลำต้น จึงได้ชื่อว่ากระบองทอง


Dolichothele longimamma หรือ กล้วยหอม 
ต้นแคคตัสสายพันธุ์นี้มีลักษณะที่โดดเด่นคือลำต้นมีคล้ายผลกล้วยหลายๆ ผลอยู่รวมกัน ที่ปลายแต่ละผลจะมีหนาม โดยทั่วไปเมื่อออกดอกมักมีดอกสีเหลืองหรือสีขาว




Echinocereus rigidissimus หรือ สายรุ้ง
ต้นมีสีเขียวลักษณะกลมไปจนถึงทรงกระบอก และมีกระจุกหนามสีชมพู-ขาว เรียงอัดแน่นอยู่รอบต้น


Mammillaria plumosa หรือ ขนนกขาว
ต้นมีลักษณะค่อนข้าวกลม บริเวณที่ควรเป็นหนามจะเป็นแพขนสีขาวคล้ายกับขนนกปกคลุมทั่วทั้งต้น



Echinopsis calochlora หรือ ดาวล้อมเดือน

ลำต้นมีลักษณะเป็นกลีบพูหลายๆ พูต่อกันค่อนข้างกลม ต้นมีสีเขียวทั้งต้น ที่แต่ละเหลี่ยมจะมีหนามสีขาว และมักจะมีต้นเล็กๆ ขึ้นอยู่รอบต้นใหญ่ คล้ายกับดาวที่ล้อมอยู่รอบเดือน



















วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562



คุณเป็นกระบองเพชรแบบไหน


คุณรู้ใช่ไหมว่าคนเข้มแข็ง
วัดผ่านปัญหาไม่ใช่ความสุข
ใครก็ยิ้มได้เมื่อไม่มีเรื่องทุกข์
แต่คนที่ไม่มีเรื่องสุข
จะยิ้มอย่างคนเข้มแข็งได้จริงหรือเปล่า


หลายครั้งเรานิยามให้คนเข้มแข็ง
เป็นฮีโร่ที่ไม่มีวันเหน็ดเหนื่อย
เราจึงหลงพยายามฝืนตัวเอง
และสุดท้ายก็คงไม่ต่างอะไร
กับหุ่นยนต์ที่รอวันพัง


กระบองเพชรก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
ที่เราใช้เปรียบเทียบกับตัวเอง
เรามักหลงใหลในหนามแหลม
คล้ายกับอาวุธแห่งการป้องกันตัว
เราชื่นชมในการมีชีวิต
แบบที่ไม่ต้องใส่ใจอะไรมาก
แต่สิ่งนึงที่เราหลงลืมคือมันตายได้เช่นกัน
สิ่งที่เราไม่ได้ให้ความสนใจ
อาจจะกำลังตายอย่างช้าๆ...


เหมือนตัวเราเองหรือเปล่า
แม้อยู่กับตัวเองมากที่สุด
แต่กลับไม่รู้ว่าภายในกำลังขาดน้ำหรือเปล่า
ปล่อยให้ตัวเองเผชิญกับแดดแห่งความกดดัน
โดยไม่เข้าหลบพัก
ปล่อยให้ตัวเองจมอยู่ในดินเสีย
ไม่มีแร่ธาตุที่จะเติบโต
เราเอง..เป็นกระบองเพชรที่เข้มแข็ง
หรือกำลังจะตายอย่างช้าๆกันแน่


กระบองเพชรหลากหลายสายพันธุ์สอนให้
เห็นความแตกต่างของความสวยงามในชีวิต
รูปลักษณ์ของดอกและหนาม
ลำต้นและการขยายตัว
แสดงให้เห็นว่าเราไม่เหมือนกัน
ไม่ต้องคาดหวังว่าจะอดทนให้ได้อย่างใคร
ทุกสิ่งมีเวลาเดินและเวลาพัก
มีวาระแห่งการอดทน
และการเหน็ดเหนื่อยได้เสมอ


บางครั้งเราอาจต้องยอมหลบแดดบ้าง
เพื่อถนอมความสวยงามของตัวตน
บางครั้งเราอาจต้องรดน้ำให้บ่อยขึ้น
เพื่อบำรุงการมีชีวิต
บางครั้งเราอาจต้องเปลี่ยนดินไปอยู่ในกระถางใหม่เพื่อโตได้มากกว่านี้
บางครั้งเราอาจต้องตัดเล็มบางส่วน
เพื่อแตกขยายบางสิ่ง


วาระแห่งความสวยงาม
มันจะยาวนานมากขึ้น
วาระแห่งความอดทน
มันจะดูมีคุณค่ามากขึ้น
เมื่อเรารู้จักตัวเราเอง
อย่าคิดว่าตัวเองไหวเสมอไป
พักบ้างนะ...เจ้ากระบองเพชร